เมนู

แล้ว แม้นี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อม
รู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว. ธรรม 7 อย่าง
เหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง ธรรม 7 อย่างเหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบ ด้วยประการฉะนี้.
จบปฐมภาณวาร.

ว่าด้วยธรรมหมวด 8



[443] ธรรม 8 อย่างมีอุปการะมาก ธรรม 8 อย่าง ควรเจริญ
ธรรม 8 อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม 8 อย่าง ควรละ ธรรม 8 อย่าง
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม 8 อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม 8 อย่าง
ควรให้เกิดขึ้น ธรรม 8 อย่าง ควรรู้ยิ่ง ธรรม 8 อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[444] ธรรม 8 อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ เหตุ
8 อย่าง ปัจจัย 8 อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาเป็นอาทิพรหมจรรย์
ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว เหตุและปัจจัย 8 อย่าง เป็นไฉน คือ
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยพระศาสดา หรือ
เพื่อนพรหมจรรย์ อยู่ในฐานะควรเคารพรูปใดรูปหนึ่ง หิริและโอตตัปปะ
แรงกล้า เข้าไปปรากฏแก่ภิกษุนั้น เป็นความรักและความเคารพในท่าน นี้
ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หนึ่ง ย่อมเป็นไป เพื่อได้ปัญญาอาทิพรหมจรรย์
ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเข้าไปอาศัยพระศาสดา หรือ เพื่อนพรหม
จรรย์ อยู่ในฐานะควรเคารพนั้นรูปใดรูปหนึ่ง หิริและโอตตัปปะอย่างแรง
กล้าเข้าไปปรากฏแก่ภิกษุนั้นเป็นความรักและความเคารพในท่าน เธอเข้า
ไปหาท่านเสมอ ๆ สอบถามไต่สวนว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของ
ข้อนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิด กระทำสิ่งที่ยากให้ง่าย
และบรรเทาความสงสัยในธรรม เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลาย ๆ อย่าง
แก่เธอ นี้ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สอง. . .
ภิกษุฟังธรรมนั้นแล้ว ถึงพร้อมด้วยความหลีกออก 2 อย่าง คือ
ความหลีกออกแห่งกาย 1 ความหลีกออกแห่งจิต 1 นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อ
ที่สาม . . .
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึง
พร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบท นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สี่ . . .
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะไว้ สั่งสมสุตะ ธรรม
งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นธรรมอัน
ภิกษุนั้น สดับมาก ทรงไว้ คล่องปาก พิจารณาด้วยใจ แทงตลอดด้วย
ทิฏฐิ นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ห้า...
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุปรารภความเพียร ละอกุศลธรรม ยัง
กุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง ความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมอยู่
นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หก....

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึง สิ่งที่ทำไว้นาน ถ้อยคำที่พูดไว้นาน นี้ก็เป็น
เหตุเป็นปัจจัย ข้อที่เจ็ด . . .
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ พิจารณาถึงความเกิดและความเสื่อมใน
อุปาทานขันธ์ 5 อยู่ว่า ดังนี้ รูป ดังนี้ ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ ความดับ
แห่งรูป ดังนี้ เวทนา ดังนี้ ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ ความดับแห่ง
เวทนา ดังนี้ สัญญา ดังนี้ ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ ความดับแห่งสัญญา
ดังนี้ สังขารทั้งหลาย ดังนี้ ความเกิดแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ความดับ
แห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ วิญญาณ ดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้
ความดับแห่งวิญญาน. นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่แปด ย่อมเป็นไปเพื่อได้
ปัญญาอาทิพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อ
ความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว. ธรรม 8 อย่าง เหล่านี้
มีอุปการะมาก.
[445] ธรรม 8 อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. อริยมรรคมีองค์
8 คือ เห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ ความ
เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ธรรม 8 อย่าง เหล่านี้ ควรเจริญ.
[446] ธรรม 8 อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. โลกธรรม
8 คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์
ธรรม 8 อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[447] ธรรม 8 อย่าง ควรละเป็นไฉน. มิจฉัตตะ 8 คือ
เห็นผิด ดำริผิด วาจาผิด การงานผิด อาชีพผิด เพียรผิด ระลึกผิด
สมาธิผิด ธรรม 8 อย่างเหล่านี้ ควรละ.

[448] ธรรม 8 อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
เหตุของผู้เกียจคร้าน 8 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การงานเป็นสิ่งอันภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้พึงทำ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็นสิ่งอัน
เราพึงทำแล ก็แหละเมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิด
เราจะนอน. เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้
ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก การงานเป็นสิ่งอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำแล้ว
เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้กระทำการงานแล้ว ก็แหละเมื่อเรา
กระทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ช่างเถิดเราจะนอน. เธอนอน
ไม่ปรารภความเพียร . . . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็น
เหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่สอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
ก็เราจักต้องเดินทางผู้เดียว ก็แหละ เมื่อเราเดินทางไป ร่างกายจักเหน็ด
เหนื่อย ช่างเถิด เราจะนอน. เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร . . . นี้ก็เป็น
เหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้เดินทางแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่าง
นี้ว่า เราได้เดินทางแล้ว ก็แหละเมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อย
แล้ว ช่างเถิดเราจะนอน เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร . . . นี้ ก็เป็นเหตุ
ของผู้เกียจคร้านข้อที่สี่.

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคมไม่ได้
โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อมมีความ
คิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคมก็ไม่ได้โภชนะที่
เศร้าหมอง หรือประณีตเต็มความต้องการ ร่างกายของเรานั้น เหน็ด
เหนื่อยแล้ว ไม่ควรเเก่การงาน ช่างเถิดเราจะนอน. เธอนอนไม่ปรารภ
ความเพียร . . . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้
เกียจคร้านข้อที่ห้า.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ย่อม
ได้โภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อม
มีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะที่
เศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นหนัก
ไม่ควรแก่การงาน เหมือนถั่วราชมาส ที่เขาหมักไว้ ช่างเถิด เราจะนอน.
เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร .. . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่หก.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อาพาธเล็กน้อยเกิดแก่ภิกษุ เธอย่อมมีความคิด
อย่างนี้ว่า อาพาธเพียงเล็กน้อยนี้ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมควรเพื่อจะนอน
มีอยู่ ช่างเถิด เราจะนอน. เธอนอนไม่ปรารภความเพียร . . . เพื่อทำ
ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ให้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่เจ็ด.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากอาพาธยังไม่นาน
เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความอาพาธยัง
ไม่นาน ร่างกายของเรานั้นยังอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิดเรา

จะนอน. เธอนอนไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุ
ของผู้เกียจคร้านข้อที่แปด. ธรรม 8 อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[449] ธรรม 8 อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่ เหตุ
ของผู้ปรารภความเพียร 8 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การงานเป็นสิ่งอัน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงทำ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็นสิ่ง
อันเราควรทำ ก็แหละเมื่อเราทำการงานอยู่ การกระทำคำสอนของพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายไว้ในใจ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ช่างเถิด เราจะปรารภความ
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง. เธอปรารภความเพียรอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก การงานเป็นสิ่งอันภิกษุทำแล้ว เธอย่อมมีความคิด
อย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้วแล ก็แหละ เราเมื่อทำการงานอยู่ ก็
ไม่อาจทำคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ ช่างเถิด เราจะปรารภ
ความเพียร . . . เธอปรารภความเพียรอยู่... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้
ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อทีสอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราจักต้องเดินทาง ก็แหละ เมื่อเราเดินทางไป การกระทำคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ช่างเถิดเราจะปรารภ
ความเพียร . . . เธอปรารภความเพียรอยู่ .. . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้

ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเดินทางแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราได้เดินทางแล้วแล ก็แหละ เมื่อเราเดินทางอยู่ก็ไม่อาจทำคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร . . . เธอ
ปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็น
เหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่สี่.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ย่อม
ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อมมี
ความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้าน หรือนิคม ไม่ได้โภชนะ
เศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นเบา
ควรแก่การงาน ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร . . . เธอปรารภความเพียร
อยู่ . . . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภ
ความเพียร ข้อที่ห้า.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้าน หรือนิคม ย่อม
ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อมมีความ
คิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้าน หรือนิคมได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีต เต็มตามความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่
การงาน ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร . . . เธอปรารภความเพียรอยู่ . . .
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร
ข้อที่หก.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุแล้ว เธอย่อม
มีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเพียงเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ข้อที่อาพาธ

ของเราจะพึงมากขึ้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร...
เธอปรารภความเพียรอยู่ . . . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็
เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่เจ็ด.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยัง
ไม่นาน เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความ
อาพาธยังไม่นาน ข้อที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น เป็นฐานะที่จะ
มีได้ ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร . . . เธอปรารภความเพียรอยู่ . . .
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร
ข้อที่แปด. ธรรม 8 อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[450] ธรรม 8 อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่
กาลมิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ดูก่อนผู้มีอายุ พระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรม
เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรม
อันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรกแล้ว นี้ก็เป็นกาล
มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติใน
โลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อ
ความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่
บุคคลนี้ เป็นผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย
เพื่อความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่สอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติในโลกนี้

และทรงแสดงธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์
ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้ เข้าถึง
ปิตติวิสัย นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติในโลกนี้
ทรงแสดงธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ. . . แต่บุคคลนี้ เข้าถึงเทพนิกายซึ่ง
มีอายุยืน อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ข้อที่สี่.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติใน
โลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ . . . แก่บุคคลนี้
เป็นผู้เกิดในปัจจันตชนบท เป็นถิ่นของชนมิลักขะ ผู้ไม่มีความรู้ ซึ่งมิใช่
คติของ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย
เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่ห้า.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติใน
โลกนี้ . . . ส่วนบุคคลนี้ เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความ
เห็นผิดไปว่า ทานที่บุคคลให้ ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวง
ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี เหล่าสัตว์ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไป
โดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบในโลกไม่มี ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ ไม่มีในโลกนี้ นี้ก็เป็นกาลมิใช่
ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่หก.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติในโลก. . .

ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นคนมีปัญญาทึบ โง่เขลา
เป็นใบ้ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็น
กาล มิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่เจ็ด.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ
ในโลก และพระองค์ยังไม่ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไป
เพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว
ส่วนบุคคลนี้ เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขามีปัญญาไม่โง่เขลา ไม่เป็นใบ้
สามารถจะรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาล มิใช่ขณะ
มิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่แปด. ธรรม 8 อย่างเหล่านี้
แทงตลอดได้ยาก.
[451] ธรรม 8 อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ความตรึก
ของมหาบุรุษ 8 คือธรรมนี้ ของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความ
ปรารถนาใหญ่ ธรรมนี้ ของผู้สันโดษ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ ธรรมนี้
ของผู้สงัด ไม่ใช่ของผู้ยินดีในความคลุกคลี ธรรมนี้ ของผู้ปรารภความ
เพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน ธรรมนี้ของผู้เข้าไปตั้งสติไว้ ไม่ใช่ของผู้
ลืมสติ ธรรมนี้ของผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ใช่ของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมนี้ของผู้
มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทึบ ธรรมนี้ของผู้ไม่มีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
เป็นที่มายินดี ยินดีในธรรมเป็นเครื่องไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้มีธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ยินดีในธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ธรรม 8
อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[452] ธรรม 8 อย่าง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อภิภายตนะ 8
คือ ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญรูปภายใน เห็นรูปภายนอกน้อย มีผิวพรรณดี
ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้น มีสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น นี้ก็

เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง. ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญรูปภายนอก หาประมาณมิได้
มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เรารู้ เราเห็น นี้ก็เป็นอภิภาตนะข้อที่สอง. ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกน้อยมีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้น
มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม. ภิกษุ
รูปหนึ่ง สำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก หาประมาณมิได้ มีผิวพรรณดี
ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น
นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่. ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญอรูปภายในเป็นรูปภายนอก
เขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมีเขียว ดอกผักตบเขียว สีเขียว แสงเขียว
รัศมีเขียว แม้ฉันใด หรือว่า ผ้านั้นทำในกรุงพาราณสี เนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง
เขียว สีเขียว รัศมีเขียว แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญอรูปภายในเห็นรูป
ภายนอก เขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมีเขียว ครอบงำรูปเหล่านั้น
มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็นฉันนั้นเหมือนกัน นี้ก็เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่ห้า. ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก เหลือง สีเหลือง
แสงเหลือง รัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์ เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง
รัศมีเหลือง แม้ฉันใด หรือว่า ผ้านั้นทำในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยง
ทั้งสองข้าง เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมีเหลือง แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่ง
สำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมี
เหลือง ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ฉันนั้น
เหมือนกัน นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่หก. ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน
เห็น รูปภายนอก แดง สีแดง แสงแดด รัศมีแดง ดอกชะบาแดง สีแดง
แสงแดง รัศมีแดง หรือว่า ผ้านั้นทำในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสอง

ข้าง แดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญ
อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก แดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง ครอบงำ
รูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็นฉันนั้นเหมือนกัน นี้
ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด. ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภาย
นอก ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว ดาวประกายพรึก ขาว สีขาว
แสงขาว รัศมีขาว แม้ฉันใด หรือว่า ผ้านั้นทำในกรุงพาราณสี มีเนื้อ
เกลี้ยงทั้งสองข้าง ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่ง
สำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว
ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ฉันนั้น นี้
ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด. ธรรม 8 อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[453] ธรรม 8 อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็น ไฉน. ได้แก่ วิโมกข์
8 คือ ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง. ผู้หนึ่งมีความ
สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง. บุคคลย่อม
น้อมใจไปว่า สิ่งนี้งามทีเดียว นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม. เพราะล่วงรูปสัญญา
เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำนานัตตสัญญาไว้ในใจโดยประการ
ทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์
ข้อที่สี่. บุคคลล่วงอากาสานัญจาตยนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญา-
ณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า. บุคคลล่วง
วิญญาณัญจตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่าไม่มีอะไร
ดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก. บุคคลล่วงอากิญจัญญายนะโดยประการ
ทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญานะอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด. บุคคล
ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิ-

โรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด. ธรรม 8 อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง.
ธรรม 8 อย่างเหล่านี้ จริงแท้แน่นอน ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถา-
คตตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมหมวด 9



[454] ธรรม 9 อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม 9 อย่าง ควร
เจริญ ธรรม 9 อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม 9 อย่าง ควรละ ธรรม 9 อย่าง
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม 9 อย่าง เป็นไปในส่วนพิเศษ ธรรม
9 อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม 9 อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม 9 อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม 9 อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[455] ธรรม 9 อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ธรรมมี
โยนิโสมนสิการเป็นมูล 9 คือ เมื่อกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ปราโมทย์
ย่อมเกิด ปีติย่อมเกิดแก่ผู้มีปราโมทย์ กายของผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อม
สงบ ผู้มีกายสงบ เสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้
ย่อมเห็นตามเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ตนเองย่อมหน่าย เมื่อ
หน่าย ย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นเพราะคลายกำหนัด ธรรม 9 อย่าง
เหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[456] ธรรม 9 อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่องค์เป็นที่ตั้ง
แห่งความบริสุทธิ์ 9 อย่าง คือ ศีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
เป็นองค์ เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์ จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต . . .